♦ พระคาถาชินบัญชร ♦
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร แห่งรัตนโกสินทร์
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
๑.ชะยาสะนากะตา พุทธา
|
เชตวา มารัง สะวาหะนัง
|
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
|
เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
|
๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา
|
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
|
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง
|
มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
|
๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
|
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
|
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง
|
อุเร สัพพะคุณากะโร.
|
๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ
|
สารีปุตโต จะทักขิเณ
|
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง
|
โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
|
๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
|
อาสุง อานันทะ ราหุโล
|
กัสสะโป จะ มะหานาโม
|
อุภาสุง วามะโสตะเก.
|
๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง
|
สุริโย วะ ปะภังกะโร
|
นิสินโน สิริสัมปันโน
|
โสภิโต มุนิปุงคะโว
|
๗.กุมาระกัสสโป เถโร
|
มะเหสี จิตตะ วาทะโก
|
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
|
ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
|
๘.ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ
|
อุปาลี นันทะ สีวะลี
|
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา
|
นะลาเต ติละกา มะมะ.
|
๙.เสสาสีติ มะหาเถรา
|
วิชิตา ชินะสาวะกา
|
เอเตสีติ มะหาเถรา
|
ชิตะวันโต ชิโนระสา
|
ชะลันตา สีละเตเชนะ
|
อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
|
๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ
|
ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
|
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ
|
วาเม อังคุลิมาละกัง
|
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ
|
อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
|
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ
|
เสสา ปาการะสัณฐิตา
|
๑๒.ชินา นานาวะระสังยุตตา
|
สัตตัปปาการะ ลังกะตา
|
วาตะปิตตาทะสัญชาตา
|
พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
|
๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ
|
อะนันตะชินะ เตชะสา
|
วะสะโต เม สะกิจเจนะ
|
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
|
๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
|
วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
|
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ
|
เต มะหาปุริสาสะภา.
|
๑๕.อิจเจวะมันโต
|
สุคุตโต สุรักโข
|
ชินานุภาเวนะ
|
ชิตุปัททะโว
|
ธัมมานุภาเวนะ
|
ชิตาริสังโฆ
|
สังฆานุภาเวนะ
|
ชิตันตะราโย
|
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต
|
จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ
|
♦ พระคาถาชินบัญชร (ย่อ) ♦
หากท่านมีเวลาน้อย ไม่สามารถสวดชินบัญชร ฉบับเต็มได้ ก็ให้สวดชินบัญชรย่อ ดังนี้
แบบที่ ๑
ชินะปัญชะระ ปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา
แบบที่ ๒
วิญญาณสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ
(สวด ๙ จบ)
ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า ตลอดกาลทุกเมื่อ
♦ วิธีใช้พระคาถาชินบัญชร ♦
๑.อาราธนาพระสมเด็จไปกับตัว
|
ใช้บทที่ ๓ ภาวนา
|
๒.สำหรับนักพูด นักแสดง ก่อนพูดก่อนแสดง
|
ใช้บทที่ ๗ ภาวนา
|
๓.สำหรับเสกน้ำล้างหน้า เสกแป้งเจิม
|
ใช้บทที่ ๘ ภาวนา
|
๔.ถ้าต้องการแคล้วคลาด ปลอดภัยอันตราย
|
ใช้บทที่ ๙ ภาวนา
|
๕.สำหรับป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
|
ใช้บทที่ ๑๓ ภาวนา
|
๖.อาราธนาขอให้คุณพระคุ้มครอง
|
ใช้บทที่ ๑๔ ภาวนา
|
๗.สงบใจก่อนศึกษาเล่าเรียน
|
ใช้บทที่ ๕ ภาวนา
|
๘.เมื่อต้องแสดงตนต่อที่ชุมชน
|
ใช้บทที่ ๖ ภาวนา
|
๙.ป้องกันอันตรายจากมนุษย์
|
ใช้บทที่ ๑๐,๑๑ ภาวนา
|
♦ สำรวจส่วนต่างๆ ของร่างกาย ♦
ที่ต้องเสกด้วยพระคาถาชินบัญชร
วิธีทำให้ทุกส่วนของร่างกายอยู่ในบัญชรแห่งพระพุทธเจ้า ส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้ดำเนินชีวิตอย่างมีพลัง มีชีวิตชีวา ไม่หวาดหวั่นต่ออุปสรรคใดๆ ปรัชญาว่าด้วยส่วนต่างๆ ของร่างกายและการเสกด้วยพระคาถาชินบัญชร
๑.กลางกระหม่อม เป็นศุนย์กลางแห่งชีวิต เป็นส่วนที่เป็นยอดสุดของร่างกาย ถือเป็นอวัยวะสูงสุด ในแง่หนึ่ง จึงเป็นที่ตั้งของเฝ้าหมายสูงสุดแห่งชีวิตเราด้วย พึงเสกกลางกระหม่อมด้วย พระคาถาที่ ๑ และ ๒
๒.ศีรษะ บรรจุสมองซีกซ้ายใช้ขบคิดพิจารณาหาเหตุผล สมองซีกขวาใช้จินตนาการสร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางแห่งความคิด การวางแผนสร้างเป้าหมายและวิธีการที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น พึงเสกศีรษะด้วยข้อความใน พระคาถาที่ ๓ ว่า ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า ประดิษฐานบนศีรษะ
๓.ผม เกิดขึ้นจากต่อมขุมขนใต้ผิวหนังบนศีรษะ โดยทั่วไปสำหรับชาวตะวันออกมีสีดำขลับ ส่วนชาวตะวันตกมีสีทองพึงเสกผมด้วย พระคาถาที่ ๖
๔.หน้าผาก เป็นอวัยวะที่สะท้อนความผ่องใสหรือขุ่นมัวในจิตใจของเราออกมาภายนอก หน้าผากยังเป็นอวัยวะที่เราใช้เผชิญกับโลกภายนอก เพราะเป็นส่วนที่เราต้องเปิดเผยอยู่เสมอ
ตามตำรานรลักษณ์ศาสตร์กล่าวถึงลักษณะของหน้าที่ดีและงดงามไว้หลาบแบบ แต่ศาสตร์ว่าด้วยการเสกนั้นไม่ให้ความสำคัญว่าท่านจะมีหน้าผากลักษณะอย่างไร เพียงแต่ท่านต้องเสกด้วย พระคาถาที่ ๘
๕.ดวงตา หรือ จักษุประสาท เป็นสิ่งที่ทำให้เรามองเห็น เพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆ มีคำกล่าวว่า ดวงตา คือ หน้าต่างของหัวใจ ฉะนั้นเมื่อมีจิตใจขุ่นมัว หวาดกลัว กังวล ย่อมสะท้อนออกมาทางสายตา หรือ เมื่อมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตา มีความปิติยินดี ก็จะพบแววตาที่อ่อนโยน นุ่มนวล และร่าเริง เป็นต้น พึงเสกดวงตา ด้วย พระคาถาที่ ๓ ดังมีคำแปลว่า ขออัญเชิญพระธรรมมาสถิตที่ดวงตาทั้งสอง การอัญเชิญพระธรรม มาไว้ที่ดวงตาทั้งสองมีนัยว่า เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม
๖.หูข้างขวา เป็นอวัยวะที่ทำให้เราได้ยินสรรพสำเนียง ซึ่งในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องรับฟังมากเพื่อให้รู้เท่าทันโลก จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแสโลก พึงเสกหูข้างขวาด้วย พระคาถาที่ ๕
๗.หูข้างซ้าย เป็นอวัยวะที่ทำให้เราได้ยินสรรพสำเนียง เช่นเดียวกับหูข้างขวา พึงเสกหูข้างซ้ายด้วย พระคาถาที่ ๕
๘.ปาก เป็นอวัยวะที่รับอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วน และยังเป็นศูนย์กลางแห่งการติดต่อกับโลกภายนอกของเรา ทั้งในแง่ที่รับรสชาติจากสิ่งที่เรากิน และในแง่ที่เปล่งเสียงติดต่อกับโลกภายนอก พึงเสกปากด้วย พระคาถาที่ ๗
๙.อก เป็นอวัยวะที่รวมเอาความเป็นตัวเราไว้ (การบอกว่า เราเอง มักจะชี้มาที่อกเสมอ) แสดงถึงความกล้าหาญ เช่น ยืดอกต่อสู้กับโลกภายนอกเข้าทำนอง อกผายไหล่ผึ่ง และบางทีอกอาจแสดงถึงความอ่อนแอห่อเหี่ยวในจิตใจได้ พึงเสกอกของเราด้วย พระคาถา ที่ ๓
๑๐.หัวใจ คือ อวัยวะที่อยู่ในทรวงอกค่อนไปทางซ้าย เป็นศูนย์รวมความรู้สึก ทุกอย่างของมนุษย์และมันยังเป็นที่เก็บงำอารมณ์ความรู้สึกรัก เกลียด อิจฉาริษยา เศร้า อ้างว้าง โดดเดี่ยว ฯลฯ ไว้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อหัวใจและร่างกาย พึงเสกมนต์อันเป็นดุจกำแพงรอบหัวใจ ด้วย พระคาถา ที่ ๓
๑๑.กายด้านขวา เป็นส่วนที่แสดงถึงความเข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคง มีสติ ปัญญาสูงส่ง ความมีอำนาจเหนือ และสะท้อนพลังอำนาจแห่งการดำรงชีวิตที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง พึงเสกกายด้านขวาด้วย พระคาถา ที่ ๔
๑๒.กายด้านซ้าย เป็นส่วนที่แสดงถึงความนุ่มนวล การยอมรับฟังรู้จักโอนอ่อนผ่อนตามสมควรแก่กรณี และการมีความคิดสร้างสรรค์สูงส่ง พึงเสกกายด้านซ้ายด้วย พระคาถา ที่ ๔
๑๓.ด้านหลังของร่างกาย เป็นส่วนที่ค้ำจุนรองรับร่างกายให้ตั้งตรงได้อย่างสง่าผ่าเผย ในแง่หนึ่งจึงเป็นที่รวมประสบการณ์ในชีวิต สั่งสมเรื่องราวที่เป็นภูมิหลังหรือประวัติชีวิตส่วนตัว เป็นที่เก็บซ่อนสิ่งที่เราไม่ต้องการเปิดเผย รวมทั้งเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าที่มีส่วนผลักดันการลงมือการกระทำการสร้างสรรค์ และการแสดงออกของเรา พึงเสกด้านหลังด้วย พระคาถา ที่ ๓
๑๔.อวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนของร่างกาย สำหรับผู้ประสงค์จะสวดรวบยอดตลอดทั่วทุกส่วนในร่างกาย พึงเสกด้วย พระคาถา ที่ ๙
นอกจากตัวเราแล้ว สถานที่รอบตัวเรา คือ ข้างหน้า ข้างขวา ข้างหลัง ข้างซ้าย ตลอดถึง เบื้องบนอากาศ ยังถูกเสกด้วยข้อความที่ปรากฏใน พระคาถา ที่ ๑๐ และ ๑๑
♦ คำแปล พระคาถาชินบัญชร ♦
๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรส คืออริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
๒.มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
๓.ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
๔.พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
๕.พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
๖.มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
๗.พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
๘.พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
๙.ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัยแต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
๑๐.พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตร อยู่เบื้องหลัง
๑๑.พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
๑๒.อนึ่งพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
๑๓.ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
๑๔.ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้นจงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
๑๕.ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ
♦ อานิสงส์ชินบัญชร ♦
พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกาเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ
พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านั้น จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่า เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามา
♦ อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร ♦
ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กลํ้ากราย ไปทางใด ย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
♦ การเริ่มต้นและวิธีสวด ♦
การเริ่มต้นสวดภาวนาให้หาวันดีคือ วันพฤหัสบดีเป็นวันเริ่มต้น โดยน้อมนำดอกไม้ ธูปเทียนถวายบูชาคุณพระรัตนตรัยและดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ถ้าไปที่วัดระฆังก็ใช้ได้ ถ้าไปไม่ได้ก็ให้ระลึกถึงท่านและหันหน้าไปทางวัดระฆังก็ใช้ได้ เมื่อบูชาพระรัตนตรัยและดวงวิญญาณของเจ้าประคุณสมเด็จแล้ว จึงเริ่มต้นสวดโดยอ่านตามบทให้ได้ ๑ จบ ก็เป็นอันเสร็จพิธีเริ่มต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น