วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

คำทำวัตรเย็น




คำทำวัตรเย็น
คำบูชาพระ และปุพพภาคนมการ ใช้อย่างเดียวกันกับทำวัตรเช้า


๑.พุทธาภิถุติ
หันทะ  มะยัง  พุทธาภิถุติง  กะโรมะ  เส.
เชิญเถิด  เราทั้งหลาย  ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด.


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า:-


อิติปิ โส ภะคะวา,
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใคร
ยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม.
ภะคะวา,
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.
  
        
๒.พุทธาภิคีติ
หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด


พุทธ๎ะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์,
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน.
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า.
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย.
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสี) วะ, พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า.
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า.
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ, พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า.
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ), ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น


(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้าจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.


(*บทขอให้งดโทษนี้ มิได้เป็นการล้างบาป, เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง; และคำว่าโทษในที่นี้
มิได้หมายถึงกรรม : หมายถึงโทษเพียงเล็กน้อยซึ่งเป็น“ส่วนตัว” ระหว่างกัน ที่พึงอโหสิกันได้.
การขอขมาชนิดนี้สำเร็จผลได้ ในเมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริงๆ, และเป็นเพียงศีลธรรม และสิ่งที่ควรประพฤติ.)


๓.ธัมมานุสสติ
หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย, ทำความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด


ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้
ดีแล้ว.
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล.
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว.
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี  ติ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้:-


        
๔.ธัมมาภิคีติ
หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย, ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระธรรมเถิด


ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ, คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น.
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว.
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น, อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย.
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า
ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี), ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า.
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า.
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ, ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม.
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า.
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา.
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ), ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้.
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.


(หมอบกราบลง)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม
ธัมโม ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป


๕.สังฆานุสสติ
หันทะ มะยัง สังฆานุสสตินะยัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย, ทำความตามระลึกถึงพระสงฆ์เถิด


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว.
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว.
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว.
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว.


ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ.
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ.
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา.
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ.
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน.
อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี.
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
                


๖.สังฆาภิคีติ
หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย, ทำความขับถา พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด


สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณ มีความปฏิบัติดีเป็นต้น,
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ ๘ จำพวก,
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิต อันอาศัยธรรม มีศีล เป็นต้น อันบวร,
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น, อันบริสุทธิ์ด้วยดี,
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า,
สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโส (หญิงสวด ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์,
วันทันโตหัง (หญิงสวด ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (หญิงสวด มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น,


(หมอบกราบลง)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี.
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำล่วงเกินแล้วในพระสงฆ์.
สังโฆ ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์จงอดโทษล่วงเกินอันนั้น.
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.
เพื่อสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป.


(จบคำทำวัตรเย็น)










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น