♦ พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ♦
ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง
♦ ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก(ต้นฉบับเดิม) ♦
๑ อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
อะระหัง
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
สัมมาสัมพุทโธ
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
วิชชาจะระณะ สัมปันโน
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
สุคะโต
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
โลกะวิทู
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อะระหันตัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
อะระหันตัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
สัมมาสัมพุทธัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
สัมมาสัมพุทธัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
วิชชาจะระณะสัมปันนัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
วิชชาจะระณะสัมปันนัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
สุคะตัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
สุคะตัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
โลกะวิทัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
โลกะวิทัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
๒. อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
อะนุตตะโร
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
ปุริสะทัมมะสาระถิ
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
พุทโธ
|
วะตะ
|
โส ภะคะวา.
|
อะนุตตะรัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
อะนุตตะรัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
ปุริสะทัมมะสาระถิ
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
ปุริสะทัมมะสาระถิ
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
พุทธัง
|
สะระณัง
|
คัจฉามิ.
|
พุทธัง
|
สิระสา
|
นะมามิ.
|
อิติปิ โส ภะคะวา ฯ
|
๓. อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
รูปะขันโธ
|
อะนิจจะลักขะณะปาระมิ
|
จะ สัมปันโน.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
เวทะนาขันโธ
|
อะนิจจะลักขะณะปาระมิ
|
จะ สัมปันโน.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
สัญญาขันโธ
|
อะนิจจะลักขะณะปาระมิ
|
จะ สัมปันโน.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
สังขาระขันโธ
|
อะนิจจะลักขะณะปาระมิ
|
จะ สัมปันโน.
|
อิติปิ โส
|
ภะคะวา
|
วิญญาณะขันโธ
|
อะนิจจะลักขะณะปาระมิ
|
จะ สัมปันโน
|
๔. อิติปิ โส ภะคะวา
|
ปะฐะวีธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อาโปธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
เตโชธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
วาโยธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อากาสะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
วิญญาณะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
จักกะวาฬะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
๕. อิติปิ โส ภะคะวา
|
จาตุมมะหาราชิกาธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
ตาวะติงสาธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
ยามาธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
ตุสิตาธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
นิมมานะระตีธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
กามาวะจะระธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
รูปาวะจะระธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อะรูปาวะจะระธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
โลกุตตะระธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
๖. อิติปิ โส ภะคะวา
|
ปะฐะมะฌานะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
ทุติยะฌานะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
ตะติยะฌานะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
จะตุตถะฌานะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
ปัญจะมะฌานะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
๗. อิติปิ โส ภะคะวา
|
อากาสานัญจายะตะนะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
วิญญานัญจายะตะนะธาต
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อากิญจัญญายะตะนะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
๘.อิติปิ โส ภะคะวา
|
โสตาปัตติมัคคะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
สะกิทาคามิมัคคะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อะนาคามิมัคคะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อะระหัตตะมัคคะธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
โสตาปัตติผะละธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
สะกิทาคามิผะละธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อะนาคามิผะละธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
อิติปิ โส ภะคะวา
|
อะระหัตตะผะละธาตุ
|
สะมาธิญาณะสัมปันโน.
|
๙. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมพูทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ อิสวาสุ สุสวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ.
๑๐.อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญ จะ อิสสะโร ธัมมา.
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง ภะคะวะตา ยาวะ
นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะ
นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
๑๑.นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
|
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
|
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติ-สาวัง
|
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
|
อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง
|
มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง
|
สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง
|
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
|
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง
|
สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.
|
สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๑๒.นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา.
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.
นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะ วันทา นะโม นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อนัตตา ฯ
วิปัสสิต
สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วินาสสันตุ
♦ คำกรวดน้ำ ของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ♦
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญของข้าพเจ้า ได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชู อุดหนุน คุณบิดามารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร มิตรรักสนิท เพื่อนสรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาล ท้าวจะตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ ชั้นจาตุมมะหาราชิกาเบื้องบน สูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม และเบื้องล่างต่ำสุด ตั้งแต่โลกันตมหานรกและอเวจีขึ้นมา จนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดาทั้งหลาย ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยมยักษ์ คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุขขอให้ได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ
พุทธัง อะนันตัง ธัมมังจักกะวาลัง
สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหนตุ.
♦ อานิสงส์ของการสวดและภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ♦
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าคำ เพื่อความสวัสดีเป็นสิริมงคลแก่ผู้สาธยาย อันเป็นบ่อเกิด มหาเตชัง มีเดชมาก มหานุภาวัง มีอานุภาพมาก และมีลาภยศ สุขสรรเสริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อุปัทวันตราย และความพินาศทั้งปวง ตลอดทั้งหมู่มารร้ายและศัตรูคู่อาฆาตไม่ อาจแผ้วพานได้
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง เป็นต้น ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้วจะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญพระพุทธานุสติ วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชรคอยปกป้องคุ้มครองรักษาชีวิตให้ปราศจากเวรภัย
อิติปิโส ภะคะวา รูปะขันโธ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออาราธนาบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเราเพื่อให้เกิดพระไตรลักษณ์ญาน อันเป็นทางของพระนิพพานสืบต่อไป
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณสัมปันโน เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนา ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ ในจักรวาล ในเทวโลกหรือในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และในโลกุตรภูมิ ขอจงมาบังเกิดในขันธสันดานของข้าพเจ้าหรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งรูปฌาน อรูปฌาน อภิญญา เป็นการเจริญวิปัสสนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรคผลนิพพาน เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ
กุสลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา เป็นต้น เป็นการสาธยายหัวใจพระวินัยปิฎก หัวใจพระสุตตันตปิฎก หัวใจพระอภิธรรมปิฎก และเป็นหัวใจพระเจ้า ๕๐๐ ชาติ พระเจ้า ๑๐ ชาติ และหัวใจ อิติปิ โส ตลอดทั้งหัวใจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อภาวนาแล้วจะนำลาภ ยศ ฐาบรรดาศักดิ์ ทั้ง อายุ วรรณะ สุขะ พละ และจะป้องกันสรรพภัย ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป
อินทะสาวัง มหาอินทะสาวัง เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้วมีทั้งอำนาจ ตบะ เดชะ ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองทุกประการ
พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายต่างก็กล่าวเน้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของจริงของแท้ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้ ยิ่งมีการปฏิบัติธรรมทั้งทาน ศีล ภาวนา สม่ำเสมอความสุขความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่ อย่าสงสัย การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ก่ออานิสงส์ ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล ซึ่งจะบังเกิดความสุขความเจริญในปัจจุบัน และตามติดวิญญาณไปทุกภพทุกชาติด้วย
ฉะนั้น ชาวพุทธทั้งหลาย จงเจริญภาวนา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกทุกเช้าค่ำเถิด จะบังเกิดความสวัสดิมงคล แก่ตนและครอบครัว ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้า
โบราณว่าผู้ใดสร้างบุญกุศลและได้สวดภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นประจำจะมีอานิสงส์มาก เมื่อป่วยหนักให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้นกำลังจะสิ้นใจผู้อยู่ใกล้บอกนำว่า อะระหัง หรือ พุทโธ เรื่อย ๆ เมื่อถึงแก่กรรม จงเขียน จิ. เจ. รุ. นิ. บนแผ่นทองหรือแผ่นเงิน ใบลาน, กระดาษ แล้วม้วนเป็นตะกรุด (ห้ามคลี่) ใส่ปากให้ไปสู่สุคติในสัมปรายภพสวรรค์ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น