วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

คำทำวัตรเช้า



♦ คำทำวัตรเช้า ♦
หันทะ  มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต
ปุพพะภาคะนะมะการัง  กะโรมะ  เส.
เชิญเถิด  เราทั้งหลาย  ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด

      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
      อะระหะโต,
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
      สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง

(กล่าว ๓ ครั้ง)

๑.พุทธาภิถุติ
หันทะ  มะยัง  พุทธาภิถุติง  กะโรมะ  เส.
เชิญเถิด  เราทั้งหลาย  ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด.

      โยโส ตะถาคะโต,
พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด,
      อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
      สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
      วิชชาจะระณะ สัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
      สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
      โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
      อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
      สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
      พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
      ภะคะวา,
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
      โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับ
      สะมาระกัง สะพรัหมะกัง,
ทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว,
      สัสสะมะณะ พ๎ราหมะณิง
ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มาร, พรหม
      ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง

      สะยังอะภิญญา
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
      สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ,
พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม,
      โย ธัมมัง เทเสสิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว,
      อาทิกัล๎ยาณัง.
ไพเราะในเบื้องต้น
      มัชเฌกัล๎ยาณัง.
ไพเราะในท่ามกลาง,
      ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง.
ไพเราะในที่สุด

      สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติ
      เกวะละปะริปุณณัง
อันประเสริฐบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้ง
      ปะริสุทธัง
อรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้ง พยัญชนะ (หัวข้อ)
      พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ.,

      ตะมะหัง ภะคะวันตัง
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง, เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า
      อะภิปูชะยามิ,
พระองค์นั้น,
      ตะมะหัง ภะคะวันตัง
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
      สิระสา นะมามิฯ
พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า,
(กราบระลึกพระพุทธคุณ)
พร้อมกับกล่าวคำว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเราในใจ

๒.ธัมมาภิถุติ
หันทะ  มะยัง  ธัมมาภิถุติง  กะโรมะ  เส.
เชิญเถิด  เราทั้งหลาย  ทำความชมเชยเฉพาะพระธรรมเถิด.

      โย โส ส๎วากขาโต
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่
      ภะคะวะตา ธัมโม,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
      อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
      เอหิ ปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด,
      โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
      ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,
      ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง, เฉพาะพระธรรมนั้น,
      ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า,
(กราบระลึกพระธรรมคุณ)
พร้อมกับกล่าวคำว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเราในใจ

๓. สังฆาภิถุติ
หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด  เราทั้งหลาย  ทำความชมเชยเฉพาะพระสงฆ์เถิด.

      โย โส สุปะฏิปันโน
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
      ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
หมู่ใด, ปฏิบัติได้ดีแล้ว
      อุชุปะฏิปันโน
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
      ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
      ญายะปะฏิปันโน
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
      ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรับรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
      สามีจิปะฏิปันโน
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
      ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
      ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
      จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่
      อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
      เอสะ ภะคะวะโต
นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของ
      สาวะกะสังโฆ,
พระผู้มีพระภาคเจ้า
      อานุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
      ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
      ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
      อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี.
      อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง
เป็นเนื้อนาบุญของโลก
      โลกัสสะ.
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
      ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น.
      ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้นด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระสังฆคุณ)
พร้อมกับกล่าวคำว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเราในใจ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น