วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

พระคาถาชินบัญชร





♦ พระคาถาชินบัญชร ♦
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  แห่งรัตนโกสินทร์

เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า


ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


๑.ชะยาสะนากะตา พุทธา
เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง  
มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง  
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง
อุเร สัพพะคุณากะโร.
๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ
สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง
โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม
อุภาสุง วามะโสตะเก.
๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง
สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน  
โสภิโต มุนิปุงคะโว
๗.กุมาระกัสสโป เถโร
มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง  
ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
๘.ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ  
อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา
นะลาเต ติละกา มะมะ.
๙.เสสาสีติ มะหาเถรา
วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา
ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ
อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ  
ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ
วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ
อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ   
เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๒.ชินา นานาวะระสังยุตตา
สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา
พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ
อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ
เต มะหาปุริสาสะภา.
๑๕.อิจเจวะมันโต
สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ   
ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ
ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ  
ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต
จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ


♦ พระคาถาชินบัญชร (ย่อ) ♦
หากท่านมีเวลาน้อย ไม่สามารถสวดชินบัญชร ฉบับเต็มได้ ก็ให้สวดชินบัญชรย่อ ดังนี้
แบบที่ ๑
ชินะปัญชะระ  ปะริตตัง  มัง  รักขะตุ  สัพพะทา
แบบที่ ๒
วิญญาณสัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา  นะโมพุทธายะ
(สวด ๙ จบ)
ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า ตลอดกาลทุกเมื่อ


♦ วิธีใช้พระคาถาชินบัญชร ♦
๑.อาราธนาพระสมเด็จไปกับตัว
ใช้บทที่ ๓ ภาวนา
๒.สำหรับนักพูด นักแสดง ก่อนพูดก่อนแสดง
ใช้บทที่ ๗ ภาวนา
๓.สำหรับเสกน้ำล้างหน้า เสกแป้งเจิม
ใช้บทที่ ๘ ภาวนา
๔.ถ้าต้องการแคล้วคลาด ปลอดภัยอันตราย
ใช้บทที่ ๙ ภาวนา
๕.สำหรับป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
ใช้บทที่ ๑๓ ภาวนา
๖.อาราธนาขอให้คุณพระคุ้มครอง
ใช้บทที่ ๑๔ ภาวนา
๗.สงบใจก่อนศึกษาเล่าเรียน
ใช้บทที่ ๕ ภาวนา
๘.เมื่อต้องแสดงตนต่อที่ชุมชน
ใช้บทที่ ๖ ภาวนา
๙.ป้องกันอันตรายจากมนุษย์
ใช้บทที่ ๑๐,๑๑ ภาวนา


♦ สำรวจส่วนต่างๆ ของร่างกาย ♦
ที่ต้องเสกด้วยพระคาถาชินบัญชร
วิธีทำให้ทุกส่วนของร่างกายอยู่ในบัญชรแห่งพระพุทธเจ้า ส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้ดำเนินชีวิตอย่างมีพลัง มีชีวิตชีวา ไม่หวาดหวั่นต่ออุปสรรคใดๆ ปรัชญาว่าด้วยส่วนต่างๆ ของร่างกายและการเสกด้วยพระคาถาชินบัญชร
๑.กลางกระหม่อม เป็นศุนย์กลางแห่งชีวิต  เป็นส่วนที่เป็นยอดสุดของร่างกาย ถือเป็นอวัยวะสูงสุด ในแง่หนึ่ง จึงเป็นที่ตั้งของเฝ้าหมายสูงสุดแห่งชีวิตเราด้วย พึงเสกกลางกระหม่อมด้วย พระคาถาที่ ๑ และ ๒
๒.ศีรษะ บรรจุสมองซีกซ้ายใช้ขบคิดพิจารณาหาเหตุผล สมองซีกขวาใช้จินตนาการสร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางแห่งความคิด การวางแผนสร้างเป้าหมายและวิธีการที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น พึงเสกศีรษะด้วยข้อความใน พระคาถาที่ ๓ ว่า ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า ประดิษฐานบนศีรษะ
๓.ผม เกิดขึ้นจากต่อมขุมขนใต้ผิวหนังบนศีรษะ โดยทั่วไปสำหรับชาวตะวันออกมีสีดำขลับ ส่วนชาวตะวันตกมีสีทองพึงเสกผมด้วย พระคาถาที่ ๖
๔.หน้าผาก เป็นอวัยวะที่สะท้อนความผ่องใสหรือขุ่นมัวในจิตใจของเราออกมาภายนอก หน้าผากยังเป็นอวัยวะที่เราใช้เผชิญกับโลกภายนอก เพราะเป็นส่วนที่เราต้องเปิดเผยอยู่เสมอ
ตามตำรานรลักษณ์ศาสตร์กล่าวถึงลักษณะของหน้าที่ดีและงดงามไว้หลาบแบบ แต่ศาสตร์ว่าด้วยการเสกนั้นไม่ให้ความสำคัญว่าท่านจะมีหน้าผากลักษณะอย่างไร เพียงแต่ท่านต้องเสกด้วย พระคาถาที่ ๘
๕.ดวงตา หรือ จักษุประสาท เป็นสิ่งที่ทำให้เรามองเห็น เพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆ มีคำกล่าวว่า ดวงตา คือ หน้าต่างของหัวใจ ฉะนั้นเมื่อมีจิตใจขุ่นมัว หวาดกลัว กังวล ย่อมสะท้อนออกมาทางสายตา หรือ เมื่อมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตา มีความปิติยินดี  ก็จะพบแววตาที่อ่อนโยน นุ่มนวล และร่าเริง เป็นต้น พึงเสกดวงตา ด้วย พระคาถาที่ ๓ ดังมีคำแปลว่า ขออัญเชิญพระธรรมมาสถิตที่ดวงตาทั้งสอง การอัญเชิญพระธรรม มาไว้ที่ดวงตาทั้งสองมีนัยว่า เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม
๖.หูข้างขวา เป็นอวัยวะที่ทำให้เราได้ยินสรรพสำเนียง ซึ่งในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องรับฟังมากเพื่อให้รู้เท่าทันโลก จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแสโลก พึงเสกหูข้างขวาด้วย พระคาถาที่ ๕
๗.หูข้างซ้าย เป็นอวัยวะที่ทำให้เราได้ยินสรรพสำเนียง เช่นเดียวกับหูข้างขวา พึงเสกหูข้างซ้ายด้วย พระคาถาที่ ๕
๘.ปาก เป็นอวัยวะที่รับอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วน และยังเป็นศูนย์กลางแห่งการติดต่อกับโลกภายนอกของเรา ทั้งในแง่ที่รับรสชาติจากสิ่งที่เรากิน และในแง่ที่เปล่งเสียงติดต่อกับโลกภายนอก พึงเสกปากด้วย พระคาถาที่ ๗
๙.อก เป็นอวัยวะที่รวมเอาความเป็นตัวเราไว้ (การบอกว่า เราเอง มักจะชี้มาที่อกเสมอ) แสดงถึงความกล้าหาญ เช่น ยืดอกต่อสู้กับโลกภายนอกเข้าทำนอง อกผายไหล่ผึ่ง และบางทีอกอาจแสดงถึงความอ่อนแอห่อเหี่ยวในจิตใจได้  พึงเสกอกของเราด้วย พระคาถา  ที่ ๓
๑๐.หัวใจ  คือ  อวัยวะที่อยู่ในทรวงอกค่อนไปทางซ้าย  เป็นศูนย์รวมความรู้สึก  ทุกอย่างของมนุษย์และมันยังเป็นที่เก็บงำอารมณ์ความรู้สึกรัก  เกลียด  อิจฉาริษยา  เศร้า  อ้างว้าง  โดดเดี่ยว  ฯลฯ  ไว้ด้วย  ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อหัวใจและร่างกาย  พึงเสกมนต์อันเป็นดุจกำแพงรอบหัวใจ  ด้วย พระคาถา ที่ ๓
๑๑.กายด้านขวา เป็นส่วนที่แสดงถึงความเข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคง มีสติ ปัญญาสูงส่ง ความมีอำนาจเหนือ และสะท้อนพลังอำนาจแห่งการดำรงชีวิตที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง พึงเสกกายด้านขวาด้วย พระคาถา ที่ ๔
๑๒.กายด้านซ้าย เป็นส่วนที่แสดงถึงความนุ่มนวล การยอมรับฟังรู้จักโอนอ่อนผ่อนตามสมควรแก่กรณี และการมีความคิดสร้างสรรค์สูงส่ง พึงเสกกายด้านซ้ายด้วย พระคาถา ที่ ๔
๑๓.ด้านหลังของร่างกาย เป็นส่วนที่ค้ำจุนรองรับร่างกายให้ตั้งตรงได้อย่างสง่าผ่าเผย ในแง่หนึ่งจึงเป็นที่รวมประสบการณ์ในชีวิต สั่งสมเรื่องราวที่เป็นภูมิหลังหรือประวัติชีวิตส่วนตัว เป็นที่เก็บซ่อนสิ่งที่เราไม่ต้องการเปิดเผย รวมทั้งเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าที่มีส่วนผลักดันการลงมือการกระทำการสร้างสรรค์ และการแสดงออกของเรา พึงเสกด้านหลังด้วย พระคาถา ที่ ๓
๑๔.อวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนของร่างกาย สำหรับผู้ประสงค์จะสวดรวบยอดตลอดทั่วทุกส่วนในร่างกาย พึงเสกด้วย พระคาถา ที่ ๙
นอกจากตัวเราแล้ว สถานที่รอบตัวเรา คือ ข้างหน้า ข้างขวา ข้างหลัง ข้างซ้าย ตลอดถึง เบื้องบนอากาศ ยังถูกเสกด้วยข้อความที่ปรากฏใน พระคาถา ที่ ๑๐ และ ๑๑


♦ คำแปล พระคาถาชินบัญชร ♦
๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์  ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว       เสวยอมตรส  คืออริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ  เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์  
๒.มี  ๒๘  พระองค์  คือ  พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ  พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
๓.ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ  พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง  พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
๔.พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ  พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา  พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย  พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
๕.พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา  พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
๖.มุนีผู้ประเสริฐ  คือ  พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน  ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง  
๗.พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ  มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ  
๘.พระปุณณะ  พระอังคุลิมาล  พระอุบาลี  พระนันทะ  และพระสีวลี  พระเถระทั้ง  ๕  นี้  จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
๙.ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ  ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัยแต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์    ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่   
๑๐.พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา   พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย  พระธชัคคะสูตร  อยู่เบื้องหลัง
๑๑.พระขันธปริตร  พระโมรปริตร  และพระอาฏานาฏิยสูตร  เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
๑๒.อนึ่งพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง  คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น  
๑๓.ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร   แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย  คือ  โรคลมและโรคดีเป็นต้น  เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
๑๔.ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้นจงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า  ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร  ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
๑๕.ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม  จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า  ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม  ชนะอันตรายทั้งปวง  ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์  ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ


♦ อานิสงส์ชินบัญชร ♦
พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก  ตกทอดมาจากลังกาเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ  ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ  
พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านั้น  จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ  อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่า  เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว  จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามา


♦ อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร ♦
ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้  เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ  จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล  ศัตรูหมู่พาลไม่กลํ้ากราย  ไปทางใด  ย่อมเกิดเมตตามหานิยม  เกิดลาภผลพูนทวี  ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ  ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น  เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต  มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา  ดังคำโบราณว่า  "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ   


♦ การเริ่มต้นและวิธีสวด ♦
การเริ่มต้นสวดภาวนาให้หาวันดีคือ  วันพฤหัสบดีเป็นวันเริ่มต้น  โดยน้อมนำดอกไม้  ธูปเทียนถวายบูชาคุณพระรัตนตรัยและดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ  ถ้าไปที่วัดระฆังก็ใช้ได้  ถ้าไปไม่ได้ก็ให้ระลึกถึงท่านและหันหน้าไปทางวัดระฆังก็ใช้ได้  เมื่อบูชาพระรัตนตรัยและดวงวิญญาณของเจ้าประคุณสมเด็จแล้ว  จึงเริ่มต้นสวดโดยอ่านตามบทให้ได้  ๑  จบ  ก็เป็นอันเสร็จพิธีเริ่มต้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น